สิ่งหนึ่งที่สำคัญยิ่ง ไม่ว่าจะศึกษาอะไรก็ตาม คือ ความเข้าใจและการวางแผนเส้นทางการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้เริ่มต้นจากระดับ มือใหม่ (Novice) ไปยัง มือสมัครเล่น (Amateur) ขึ้นไปยัง ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) และต่อยอดสูงขึ้นไป ถึงระดับปรมาจารย์ (Master)
ทำไมมีคนมากมายที่ ฉลาด ขยัน มุมานะ แต่กลับไม่สามารถก้าวข้ามระดับต่างๆ ไม่สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือปรมาจารย์กันทุกคน ?
หนึ่งในเหตุผลก็เพราะ การขาดความเข้าใจว่าในแต่ล่ะระดับ (Novice, Amateur, Expert, and Master) นั้น
- ต้องมีการจัดการเรียนรู้ ให้ยากง่ายมากแค่ไหน ถึงจะเรียกว่าเหมาะสมกับระดับนั้นๆ
- ต้องมีขั้นตอนและแนวทางการพัฒนาตนเองในระดับนั้นๆอย่างไร
- ต้องมีประเด็นสำคัญๆในการเรียนรู้ (ไม่ใช่เนื้อหา) อะไรบ้างที่ต้องเน้น
ผลเสียที่ตามมาจากการขาดความเข้าใจในข้างต้น คือ
ความเบื่อหน่าย ความฉุนเฉียว
ความเครียด ความท้อ ความผิดหวัง
ความเหนื่อยล้าทั้งทางกายและใจ
ส่งผลให้เลิกเรียนรู้พัฒนาตนเอง
ขอยกตัวอย่างคร่าวๆของการเรียนรู้ที่เหมาะสม (จากวิดีโอ D902 ด้านล่าง) สำหรับมือใหม่ (Novice) ที่ควรทำในอันดับต้นๆ คือ
- เริ่มต้นและเริ่มต้นเลย อย่ารอช้า (เคยมั้ยที่คิดว่าจะรอให้พร้อม ผ่านไปเป็นปีก็ยังไม่พร้อมสักที) ฝึกจัดการตารางเวลาของตนเอง Time Management ทั้งเรื่องงาน เรื่องสุขภาพ เรื่องครอบครัว และเรื่องอนาคตที่จะส่งผลตามมา จากความตั้งใจในการศึกษาสาขา/แขนงใหม่ที่ต้องการ (ซื้อโอกาส)
- เรียนให้สนุกและมีความสุข เลือกเรียนเนื้อหาที่ค่อนข้างพื้นฐาน ไม่ยาก และคนสอนสนุก/เก่ง ถ้าไม่สนุกให้หยุดหรือพักทันที (ปัญหาอาจจะไม่ได้อยู่ที่ผู้เรียน แต่อยู่ที่ผู้สอน) อย่าให้ปัญหาเรื่อง ความเบื่อ ความเครียด มาทำให้ล้มเลิกความตั้งใจ ที่จะไต่เต้าไปสู่ระดับผู้เชี่ยวชาญ/ปรมาาจารย์
- คิดบวกแต่อย่าคาดหวัง ต้องเข้าใจอย่างแท้จริงโดยบอกกับตัวเองว่า “ทุกอย่างต้องใช้เวลา” โดยเฉพาะการเริ่มต้นเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ซึ่งปรกติควรใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน สำหรับเนื้อหาความรู้ที่เหมาะสมกับมือใหม่จริงๆ (ถ้าคาดหวังเกินจริงกับเนื้อหาที่สูงเกินระดับของตนเอง จะทำให้ผิดหวัง ท้อถอย และล้มเลิกไปในที่สุด)
ThaiQuants อยากแนะนำให้ดาวน์โหลดเอกสาร ThaiQuants.com/documents ไว้อ่านกันดูครับ จะได้วางแผนการเรียนรู้ที่เหมาะสม เพื่อที่จะได้ก้าวข้ามไปยังระดับผู้เชี่ยวชาญ หรือระดับปรมารจารย์ในสาขา/แขนงต่างๆที่ต้องการ