Market Breadth Indicators

วิดีโอและเอกสาร Market Breadth (MKB) ซึ่งถือว่าเป็น Leading Indicators สัญญาณที่นำตลาด เนื่องจากมีการคำนวณวิเคราะห์ Market ที่ต่างออกไปจาก Standard Index ทั่วๆไป

ไอเดียหลักๆ ของ MKB คือ การพิจารณาให้หุ้นทุกตัวในตลาดมีน้ำหนักเท่ากันหมด ไม่ว่าจะมี market cap ใหญ่หรือเล็ก เช่น หุ้น PTT กับ หุ้น ABC จะมีค่าถ่วงน้ำหนักใน Index ที่กำลังจะสร้างขึ้นเท่ากัน ทำนักวิเคราะห์ โดยเฉพาะสาย Quant ได้มุมมองที่แตกต่างจาก Standard Index (ซึ่งเป็น capitalization-weighted index) และมีมิติที่มากกว่าเพราะสามารถถูกคำนวณวิเคราะห์ออกมาจากหลายแง่มุม

 

Market Breadth จะสามารถแบ่งการคำนวณวิเคราะห์ออกเป็นหลักๆได้ ดังนี้

  1. How to COUNT the market จะทำการนับอะไร เช่น นับจำนวนหุ้นที่ทำ New High หรือ นับจำนวนหุ้นที่มี MACD มากกว่าศูนย์
  2. How to CALCULATE the counting in 1. จะทำการคำนวณค่าที่นับมาจากข้อ 1. อย่างไร เช่น ใช้การใช้ Moving Average

หลังจากที่ได้ทำการ Counting & Calculating แล้วก็จะได้ MKB ออกมาเพื่อนำไปใช้ใน Market Filter หรือ Market Classification โดยที่ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารและดูวิดีโอแนะนำเบื้องต้นได้จากโพสนี้ และ อย่าลืมว่า No Code; No Test; No Trade. จะต้องทำการยืนยันประสิทธิภาพของ MKB นั้นๆ กับสภาพตลาดนั้นๆให้ได้ โดยเทียบกับ Standard Index เช่น SET Index

 

เปรียบเทียบระหว่าง Standard Index VS Customized Index (MKB)

จาก Slide ข้างต้นจะเห็นว่า Index ทั้งสองแบบจะมีข้อดีข้อเสียต่างกัน ในขณะที่ข้อมูลของ Standard Index (SET, SET50, SET100, และ SET HD) สามารถนำมาใช้ได้เลยจาก Data Providers แต่ Customized Index จะต้องวิเคราะห์ขึ้นมาเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น นักลงทุนสาย Quant ควรมีความสามารถวิเคราะห์และใช้ประโยชน์จาก MKB ได้เป็น และควรต้องพิจารณาให้เป็นทั้ง 2 แบบ เพื่อยืนยันสภาพตลาดให้เหมาะสมกับกลยุทธ์การเทรดของตนเอง (ดูวิดีโอเพิ่มเติมในโพสนี้)

 

หมายเหตุ: วิดีโอและเอกสาร เป็นส่วนหนึ่งของ Market Breadth Course ซึ่งมีจำนวนชั่วโมงทั้งหมด 17 ชั่วโมง

 

กดเพื่อดาวน์โหลดเอกสาร Advanced Market Analysis with Market Breadth

 

Introduction Videos (จาก MKBC)

Description

X101-1 Introduction and Overview of Markets สวัสดีครับ วิดีโอชุดนี้นะครับก็จะเป็นวิดีโอบทแรกของ ABXC (AmiBroker Xtreme Course) นะครับ ซึ่งเราจะมาพูดถึงเรื่อง Market Breadth กัน แต่ก่อนอื่นเนี่ยเดี๋ยวจะโชว์ contents ให้ดูก่อนว่ามีอะไรบ้าง โดยตัว contents เนี่ยเราก็จะเริ่ม Overview นะครับ Introduction ของ Market Analysis กับ Market Breadth เนี่ยว่ามันคืออะไรยังไงกันแน่ แตกต่างกันยังไงนะครับ แล้วก็มาทำ Preparation กับ Setup ในเรื่องของ Database Folders Files นะครับ เราจะได้ทดสอบคล้ายๆกันหรือเหมือนๆกันนะครับว่าต้อง Setup อะไรบ้าง Folders นี่สำคัญนะครับ เป็นการจัดระเบียบระหว่างการวิเคราะห์ in general โดยทั่วไปของ AddToComposite กับการวิเคราะห์ซึ่ง Specific เจาะจงมากออกมาเป็น Market Breadth เดี๋ยวมีชี้แจงนะครับว่าจัดการยังไง แล้วเราก็มาดู Overview ของตัว Market Breadth (MKB) นะครับว่า MKB เนี่ยหลักๆมันคือกระบวนการในการนับตลาด เดี๋ยวมีรายละเอียดนะครับว่าจะนับยังไง อะไรเรียกขึ้น อะไรเรียกลงนะครับ พอนับเสร็จปุ๊บเนี่ย เอาตัวเลขที่ทำการนับเนี่ยมาทำการcalculate เอามาบวกกัน เอามาลบกัน เอามาหารกันเป็นส่วน เนี่ยนะครับ แล้วก็มีการ smoothing ทำให้เรียบ มี threshold อะไรเดี๋ยวจะอธิบายให้ฟังนะครับ สรุปว่ามี counting ก่อน แล้วพอนับเสร็จก็เอามา calculate เพื่อให้เป็น MKB (counting นี่ AddToComposite ก่อน Calculate เนี่ยมาเป็น MKB) แล้วเราก็จะเริ่มใช้ตัว feature ของ AmiBroker ในการทำ MKB เราเรียกว่า AddToComposite (act) อันนี้เป็นฟังก์ชันนะครับซึ่งใช้ในการสร้างตัว MKB: atc นี่คือ AddToComposite + Counter คือนับจำนวนหุ้นทั้งหมดที่เราวิเคราะห์ , atcNHNL (New High – New Low) อันนี้เป็นตัวอย่างของ MKB นะครับเป็น New hi New low เดี๋ยวมีให้ดูเยอะนะครับ โค้ดกันมันส์เลยนะครับ แล้วก็มาชี้แจงหน่อยว่า ตอนที่เราใช้ตัวฟังก์ชัน feature เนี่ย AddToComposite เนี่ยมันมี issues อะไรบ้างที่เราต้องรู้ ไม่งั้นเดี๋ยวนักศึกษาจะงงว่าเอ๊ะเกิดอะไรขึ้น ทำไมตัวเลขไม่โผล่ หรือว่า ทำไมตัวเลขบวกขึ้นไปเรื่อยๆ เราก็จะมาพูดถึงเรื่อง Flags ซึ่งเป็นพารามิเตอร์ของ AddToComposite และก็อย่างปกติใช่ไหมครับเราก็จะมี Good practices ว่าอะไรที่มันควรหรือไม่ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นการโค้ดดิ้งใน ABQC เนี่ย อันนี้เราก็มีเหมือนกัน มี Good practices ในการสร้าง MKB นะครับ creating & coding ทำยังไง แล้วเราก็อยากจะให้โค้ดของเราเป็นระเบียบใช่ไหมครับ เราก็รักษามาตรฐานของ ThaiQuants นะครับ ผมก็เลยสร้าง AddToComposite Template (ATC Template) ขึ้นมาให้ดูกัน ว่าควรจะเขียนโค้ดยังไงเพื่อให้เป็นระเบียบเป็นระบบ แล้วก็เริ่มต้นง่ายๆก่อน อันนี้เป็น Market Filter (MKF) นะครับ หลักๆเป็นการใช้ค่า SET index มาคำนวณ อันนี้เป็น strategy Buy&Hold SET เดี๋ยวจะบอกเหตุผลว่าทำไมจะต้องเขียน strategy Buy&Hold SET ด้วยตัวเองให้ได้ อ่าอันนี้มีประเด็นนะครับ นอกนั้นเป็น Moving average RSI MADC อะไรก็ว่ากันไป เพื่อหาตัวเลือกที่ดีที่สุดมาใช้เปรียบเทียบกับ MKB ของเรา โอเคนะครับ โดยMKBของเราก็จะมีของพวก New high New low (NHNL) Advance Decline (ADDE) Up volume Down volume (UVDV) อันนี้มีสอนหมดนะครับ แล้วก็มี MKB on indicators อย่างเช่น ณ ปัจจุบันเนี่ยมีหุ้นกี่ตัวที่ MACD อยู่เหนือ 0, ณ ปัจจุบันเนี่ยมีหุ้นกี่ตัวที่ MA 40 วันอยุ่ต่ำกว่า 200 แล้วก็มีตัวอื่นนะครับมี on signals อะไรเราก็จะว่ากัน แล้วพอเราเขียนโค้ดพวกนี้ได้เสร็จปุ๊บเนี่ย เราก็จะมาทำการสรุปกันว่าอะไรเป็นอะไรนะครับ อันนี้ก็เป็น contents ที่เราจะเจอกันนะครับ อ่ะคราวนี้มาเริ่มก่อนเลยที่ตัว Market Analysis & Market Breadth นะครับ Market Analysis อันนี้เป็นการวิเคราะห์ตลาดโดยทั่วไป Market Breadth อันนี้เป็นการวิเคราะห์หุ้นทุกตัวในตลาด (ในแนวกว้าง) เดี๋ยวเราค่อยดูรายละเอียดกัน คราวนี้เนี่ยในส่วนของ Market Analysis อันแรกเลยเนี่ยที่อยากจะชี้แจงคือเราต้องเข้าใจตลาดโดยภาพรวมก่อน in general ว่าตลาดมีธรรมชาติเป็นยังไง นี่นะครับ General Nature of Markets ตลาดทั่วๆไปก็เป็นประมาณนี้นะครับ โดยที่ถ้าเราเอาdataของทางฝั่งอเมริกามาเนี่ย ปกติหุ้นจะขึ้นเฉลี่ยเนี่ยประมาณ 8-10% +/- อันนั้นประเด็นแรกนะครับ ประเด็นที่สอง ที่บอกขึ้น 10% เนี่ยมันไม่ได้ขึ้นเป็นเส้นตรงอย่างนี้นะฮะ อันนี้วาดให้ดูว่ามันไม่ได้ขึ้นเป็นเส้นตรงนะ มันจะขึ้นๆลงๆ ขึ้นลงๆ แล้วก็ไปจบประมาณนี้ เพราะฉะนั้นเนี่ยทำให้เราต้องรู้ว่า ตลาดเนี่ยโดยทั่วไป.. อันนี้มาจากคำถามต่อคุณ JP Morgan นะครับว่า “ เดี๋ยวพรุ่งนี้ตลาดจะเป็นยังไง JP Morgan ก็ตอบมาว่าสั้นๆง่ายๆว่า ก็เหมือนเดิมอ่ะผันผวน แค่นั้นเอง ” และก็โดยทั่วไปเนี่ยตลาดจะทำการ trend มีแนวโน้มเป็น trending 1/3 ของตลอดเวลา สมมติอันนี้แบ่งมา 1ส่วน ก็จะมีประมาณ 1/3 ที่ทำ trending แล้วก็ sideway.. อันนี้ sideway trending.. sideway trending.. sideway โอเคนะครับ ว่ากันไป โดยที่ตอนที่ตลาดกำลังจะทำ trend ช่วงแรกเนี่ยก่อนที่จะทำ trend ปกติจะเป็นหุ้นใหญ่ก่อนหรือหุ้นที่เป็นvalue จะเริ่มสร้าง trend ก่อนมาเรื่อยๆ เสร็จแล้วหุ้นเล็กๆจะวิ่งตามมา เสร็จปุ๊บ พอใกล้จะจบtrend หุ้นเล็กๆจะไปไม่ไหว peak สุดทางแล้ว หุ้นเล็กๆก็จะไม่ขึ้นแล้ว หุ้นใหญ่อาจจะไปต่อแป๊บนึงหรือทรงๆ อันนี้ก็ว่ากันไปนะครับ เดี๋ยวดูสองอันนี้ (SET-MACD กับ SET-diffNHNL) เดี๋ยวหาว่าไม่อธิบายนะครับ อันนี้เป็น MACD monthly ของ SET index ข้างล่างนี่อันนี้ diff คือ different New hi New low ส่วนต่างระหว่างหุ้นที่ทำ NH กับหุ้นที่ทำ NL จะเห็นได้ว่าตอนขาลง(SET-MACD monthly)อันนี้กำลังลงใช่ไหมครับ จะเห็นว่ามีหุ้นทำ NL นี่มากกว่าเป็นระยะ คาดว่า trend ต้องเป็นเส้นนี้นะฮะ (diffNHNL ที่ติดลบมากขึ้นเรื่อยๆ) ทำให้เรารู้ว่า เฮ้ยตอนนี้บางทีเราเห็นตลาดทรงๆ แต่ความจริงหุ้นมันมีทำ NL เพิ่มขึ้นเรื่อยๆแล้ว อันนี้เป็น monthlyเนี่ย อาจจะยังไม่ชัดเท่าไหร่ เดี๋ยวเรามีทำให้ดูนะครับ อ่ะ ดูช่วงนี้ก็ได้ อย่างขึ้นมานี่ peak สุดๆ เลยนะฮะ แต่ตรงนี้มีแอบทำ NL อีกอันนึงที่ต้องมาชี้แจงว่า คนชอบถามนะครับว่าทำไม SET ทรงๆหรือขึ้นเนี่ย แล้วหุ้นของนักลงทุนไม่ขึ้นตาม เพราะเราต้องเข้าใจว่า SET index เนี่ยถูกถ่วงน้ำหนักโดย Market cap เพราะฉะนั้นเนี่ยบางครั้งเนี่ย Market cap ใหญ่ๆเค้าทรงๆ อยุ่ใช่ไหมครับ แต่หุ้นเล็กร่วงไปหมดแล้ว ฟังดีๆนะครับ หุ้นMarket cap ใหญ่ๆอาจจะทรงๆอยู่เพราะว่ากองทุนอาจต้องค่อยๆทะยอยออก หรืออะไรก็ตาม แต่หุ้นเล็กๆรายย่อยถอยออกไปหมดแล้ว คราวนี้ประเด็นก็คือว่า แล้วทำไมตอน SET ทรงๆเนี่ย พอร์ทของรายย่อยไม่ทรงๆด้วย ก็เพราะว่านักลงทุนรายย่อยส่วนมากจะได้หุ้น size เล็ก เพราะฉะนั้นเนี่ยเล่นหุ้นแบบบาทสองบาท Market cap เล็กน่ะครับ เพราะเนี่ย ขณะที่หุ้นใหญ่ๆมันประคองSET ไว้ หุ้นเล็กๆมันไปหมดแล้ว ลงๆหมดแล้ว นี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไม SET index คงที่แล้วหุ้นในพอร์ทกลับลง ก็เพราะว่าท่านถือหุ้น Market cap เล็กอ่ะ มันต่างกันนะครับ นี่ผมก็มาสรุปอีกทีนะครับว่า ตลาดปกติเฉลี่ยโต 8-12 % อันนี้เป็น US DATA เทสเป็นร้อยปีน่ะครับ และก็ไม่วิ่งเป็นเส้นตรงนะฮะ ตลาดนี่วิ่งขึ้นๆลงๆนะครับ “ตลาดมันจะผันผวน” JP Morgan ครับ และก็มีแค่ 1/3 เท่านั้นของเวลาที่ตลาดทำ trend นอกนั้นก็เป็น sideway มากกว่า, trend เริ่มต้นตอนแรกๆเนี่ยจะ lead ด้วยMarket cap ใหญ่ แล้วจะตามด้วย small เสร็จปุ๊บรายย่อยจะไปก่อน หมดแรงไปก่อน ไปไม่ไหวแล้วending a trend โดย small companies เสร็จปุ๊บแล้วถ้าเริ่มเป็นขาลงจริงๆ พวก Big cap ก็จะเริ่มลงมาด้วย confirm ending โดย Big cap อันนี้ก็มาเน้นอีกทีนะครับว่า SET index เนี่ย standard index ของ market นั้นๆ ตอนนี้เราพูดถึงตลาดไทยใช่ไหมครับเราก็ใช้ SET index ถ้าพูดตลาดอเมริกาก็จะเป็น Dow Jones หรือเป็น S&P ก็ว่ากันไป ถูก influence โดย large company ก็คือ Market cap ใหญ่จะมีตัวถ่วงน้ำหนักกับค่า SET เยอะทำให้ตอนที่เห็น SET ทรงๆเนี่ย แต่หุ้นเล็กๆเละเทะไปหมดแล้ว เราเนี่ยถือหุ้นเล็กๆกันเนี่ยเละไปหมดแล้ว ก็ไม่น่าแปลกใจในส่วนนี้นะครับ อ่ะ คราวนี้ก็มาดูว่า Market Analysis คืออะไร เอ๊ะนี่จะ 9 นาทีแล้ว เดี๋ยวมาต่อดีกว่า ขอบคุณครับ

 

Description

X101-2 Comparison of Market Analysis and Market Breadth สวัสดีครับ อันนี้เราก็จะมาต่อเรื่อง Market Analysis โดยทั่วไปก่อนแล้วค่อยมาเป็น Market Breadth ว่าอันแรกเนี่ย Market Analysis คืออะไรนะครับ ก็เป็นการวิเคราะห์ตลาดภาพรวมภาพใหญ่เนี่ย เพื่อที่จะ take advantage ของ data กับข้อมูลที่ตลาดเค้านำเสนอมาให้เรานะครับ อันนั้นเป็นประเด็นแรกวิเคราะห์ broad market ก่อน ต่อไปก็เป็นการ Determining favorable markets ก็คือเป็นการระบุว่าตลาดเอื้ออำนวยหรือเปล่าโดยที่เทียบกับ strategy ของเรานะครับ ว่าต้องเอื้ออำนวยกับstrategy เราใช่ไหมครับ ไม่ใช่ strategy คนอื่นนะครับ เพื่อที่เราเนี่ยจะสามารถนำ market stages สภาวะของตลาดเนี่ยนะครับนำมาใช้ Cooperating market states into our signals and position sizing strategies นี่จะ buy ยังไง buyConMKC จำได้ไหมครับช่วย signal เรายังไงและก็มาช่วย position sizing ด้วย ตลาดเป็น uptrend/sideway เป็นอะไรนี่ เราก็จะทำ position sizing ต่างกัน ซึ่งเดี๋ยวส่วนของ position sizing เนี่ยอยู่ในบทที่3นะครับหลังจากที่เราได้เรียนบทที่2 ก็คือ Advanced Coding Custom Backtester Interface แล้วเราถึงมาเรียนเรื่อง position sizing กันนะครับ อันนี้เรื่องใหญ่นะครับ แต่ตอนแรกต้องจับตลาดให้อยู่ก่อน ให้รู้ว่าตลาดเป็นอะไรก่อน อย่างที่ผมเน้นตลอดนะครับว่า ถ้าตลาดเป็นขาขึ้นหรือตลาดมันเอื้ออำนวยต่อ strategy ของเรา ซื้อขายอะไรก็ง่าย แต่ถ้าตลาดไม่เอื้ออำนวยต่อ strategy ของเราเนี่ย ชีวิตเราจะเหนื่อยมากนะครับ เสร็จปุ๊บ เราก็ต้องทำการ Evaluate current states พิจารณาสภาพตลาด ณ ปัจจุบัน/ตอนนั้นๆ เนี่ยนะครับ เพื่อที่เราจะได้เตรียมตัว be proactive ว่า เฮ้ยตอนนี้ตลาดมันเริ่มทำท่าไม่ดีแล้วนะ ซึงบางที SET มันไม่ได้บอกซะทีเดียว เพราะมันถูก influence โดย Market cap ใหญ่ๆ และทำให้เราจะตอบสนองต่อสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปยังไง เราต้องอย่างงี้นะครับ เตรียมตัวล่วงหน้าให้ได้ และก็เตรียมพร้อมที่จะตอบสนองกับสภาพตลาด ปรับตัวเอง คราวนี้ เราบอกแล้วว่า Market Analysis เนี่ย ผมแบ่งให้ดูนะครับว่า หลักๆก็การวิเคราะห์ตลาดเราแบ่งเป็น 3 อย่าง อันนี้ในตัว 7M16 หรือตัว TSDC ก็มีบอกแล้วว่าอันแรกก็เป็น Market Filter (MKF) โดยทั่วไปก็เป็นbasicนะครับใช้ standard index ก็คือ ถ้าเป็นตลาดไทยก็เป็น SET index ตลาดอเมริกาก็ S&P, Down Jones ว่ากันไปนะครับ ผมเรียกรวมๆว่า standard index ของตลาดนั้นๆ อันนี้เป็น MKF เฉยๆว่าขึ้นหรือลง ก็ว่ากันไป ต่อไปเราก็ทำ Market Classification (MKC) ใช่ไหมครับ อันนี้เราเน้นอยู่ใน ABQC นะครับว่าพยายามจะแบ่งตลาดเป็น 1 ถึง 2 Dimensions กรณี 2 Dimensions ก็อย่างเช่นเป็น Dimension ของ Trend กับ Dimension ของ Volatility แล้วเอาแต่ละDimension มาวิเคราะห์ มา classify และมา combine เพื่อหาสภาวะตลาดที่เหมาะสมกับ strategy ของเรา คราวเนี้ยสองตัวนี้ ( MKF กับ MKC) ก็คือเป็น main หลัก ต่อไปเนี่ยเราก็มาวิเคราะห์ต่อ Market Breadth (MKB) เนี่ย มองภาพรวมภาพกว้างของตลาด อันเนี้ยผมมองว่าเป็นการ customized index ขึ้นมาเอง แทนที่จะใช้ standard index ใช่ไหมครับ เราอยากจะ customized index ขึ้นมาเอง ดูว่าเป็นยังไง แล้วค่อยนำไปใช้ใน MKF หรือ MKC อีกทีนึง เพราะฉะนั้นเนี่ยใน ABXC เราจะเน้นในส่วนของ market นะครับในเรื่องของ customized index เพื่อให้นักศึกษากลับไปใช้ใน MKF หรือ MKC ได้ หรือไปใช้ร่วมกับตัว standard index โอเคนะครับ คราวนี้ MKB มาชี้แจงเพิ่มเติมนะครับว่ามันคืออะไร มันก็เป็นการ customized index ซึ่งบางทีในหนังสือ ถ้านักศึกษาหาหนังสือมาอ่าน บางทีเค้าก็เรียกว่า MKB index บางทีเค้าก็เรียกว่า MKB indicator เหมือนกันหมดนะครับ เป็นการ customized หมด หลักๆของมันคือคำถามนี้ อันนี้คือคำถามที่สำคัญที่สุดนะครับว่าMKB ของเราเนี่ย “How to count the market” เราจะวัด/นับตลาดยังไง มีวิธีวัดหลายแบบนะครับ NHNL, ADDE เดี๋ยวมาชี้แจงกัน คราวนี้ต้องเข้าใจว่า MKB เนี่ย 90% หรือ 100% เลยนะครับ มันเป็น equally weighted index ก็คือไม่ว่าบริษัทอะไรก็ตาม หนึ่งบริษัทมีแค่หนึ่งเสียงเท่านั้น โดยที่ MKB เค้าจะคำนวณในการสร้างโดยที่ไม่ว่าจะ largest หรือ smallest market cap ก็ตาม มันจะนับเหมือนกัน ซึ่งอันนี้จะต่างจากตัว standard index ซึ่ง market cap ใหญ่จะถ่วงน้ำหนักเยอะ market cap เล็กจะถ่วงน้ำหนักน้อย แต่ใน MKB ไม่ว่าจะ cap เล็กหรือใหญ่ จะมีน้ำหนักเหมือนกันหมดเลย one company one voteเท่ากันหมดเลยนะครับ คราวเนี้ยอีกประเด็นก็มาบอกว่า อันนี้เราก็เข้าใจแล้วว่า MKBคืออะไร เป็นการนับสภาพตลาด โดยที่หุ้นแต่ละตัวมีน้ำหนักเท่ากัน อย่างเช่น ยกตัวอย่างเพิ่มดีกว่า PTT เป็น Market cap ใหญ่ ใช่ไหมครับ ถ้าขึ้นMKBก็จะนับเป็น 1 ABC หุ้นเล็ก ถ้าลงก็จะนับเป็น 1 เพราะฉะนั้น PTT ขึน 1 ABC ลง1 กลายเป็น 0 เจ๊ากัน เห็นไหมครับ แต่ถ้าเป็น SET index เนี่ย PTT ขึน 1 ABC ลง1 ตัวSET index ก็จะขึ้น เพราะว่า PTT ที่ขึ้นเนี่ยมันมี market cap เยอะกว่าABC ซึ่งเป็นหุ้นเล็ก อันนั้นเป็น standard index นะครับ อันนี้ MKB จะนับเท่ากัน ABC กับ PTT เท่ากันหมด ….อ่ะทำไมถึงใช้ MKB ล่ะ เพื่อที่จะ get another information/opinion จากตลาด ว่าตอนนี้ถ้าเรามอง SET (standard index) เป็นยังไงแล้วเนี่ย เราอยากมองอีกมุมมองนึงด้วยว่า มุมมองของ MKB เนี่ย ตลาดบอกเราว่าอะไร เพื่อเป็นอีกมุมมองนึงให้พิจารณา ไม่ได้บอกว่าอะไรดีกว่าหรือแย่กว่า แต่บอกว่า ถ้ามันมองเหมือนกันเนี่ยเราก็สามารถสรุปได้ แต่ถ้ามันมองต่างกันเราจะได้พึงระวัง be proactive โอเคนะครับ และก็ be responsive เวลามัน divergence หรือมองต่างกันนะครับ ต่อมาก็คือ to gauge the market วัดตลาดจาก various different MKB indices ก็คือว่า MKB มันมีข้อดีอย่างนึงนะครับ ตรงที่ว่าเราสามารถนับตลาดได้หลายแบบ อย่างเช่น count ว่ามี NHเท่าไหร่ NL เท่าไหร่ อันนี้ก็เป็นวิธีนับแบบนึง ซึ่งdata ก็จะเป็นชุดนึง, ต่อไปเราบอกว่างั้นเอาใหม่ นับว่าวันนี้หุ้นขึ้นกี่ตัว หุ้นลงกี่ตัว อันนี้ก็จะเป็น data อีกชุดนึง สรุปว่าตอนนี้เรามี data 2 ชุด ซึ่งต่างจากตัว SET ที่มี data แค่ชุดเดียว แต่ถ้านักศึกษาจะ apply indicators อะไรก็ตาม ก็ต้องเข้าใจว่า indicators พวกนี้ที่ apply ไปบนSET ก็ยัง based on data ชุดเดียวกัน แต่ถ้าเป็น MKB เนี่ยเราสามารถสร้าง data ได้หลายชุด NHNL ชุดนึง ADDE ชุดนึง UVDV อีกชุดนึง ตอนนี้มี 3 ชุดแล้ว และ 3 ชุดนี้จะ apply indicators อะไร ก็แยกออกไปอีก เพราะฉะนั้นจะมี various different MKB indices เนี่ยต่างกันเยอะมาก ให้เรามองได้หลายมุมมอง แล้วเดี๋ยวเราค่อยมาทำการ optimization หรือ combine ก็ได้เพื่อหา solution ที่ดีที่สุดสำหรับเรานะครับ คราวนี้นี่ to give traders confidence ในทิศทางของตลาด โดยการใช้ทั้ง Standard และ Customized index ร่วมกัน ถ้ามันไปในทิศทางเดียวกัน เราก็สบายใจใช่ไหมครับ รู้ว่า sideway รู้ว่าขึ้นหรือลงก็ตาม ถ้ามันไปคนละทิศทาง เราจะได้พึงระวังตัวว่าตอนนี้ strategy เราเนี่ยอยู่ที่ขาไหน ขาLong หรือขาShort คราวนี้ก็เอาให้จบเรื่องนี้ก่อนเลยดีกว่า ผมก็มาทำการเปรียบเทียบนะครับระหว่าง Standard index ก็คือ SET index นั่นแหละ กับ Customized index ก็คือ MKB นะครับว่าเป็นยังไง Standard index ก็มี SET, SET50, SET100, SETHD Customized index มี NHNL จำนวนหุ้นทำนิวไฮเท่าไหร่ จำนวนหุ้นทำนิวโลเท่าไหร่ ADDE จำนวนหุ้นขึ้นเท่าไหร่ จำนวนหุ้นลงเท่าไหร่ UVDV วอลุ่มของหุ้นขึ้นเท่าไหร่ วอลุ่มของหุ้นลงเท่าไหร่ MCCL อันนี้เป็นadaptiveนะครับ เดี๋ยวค่อยมาว่ากันดีกว่า…. คราวนี้ Standard index จะเป็น capitalization weighted PTTหุ้นใหญ่มีค่าถ่วงน้ำหนักต่อตัวSETมากกว่าABCซึ่งเป็นหุ้นเล็ก พอเป็น MKB แล้วเนี่ย equally weighted หมายความว่า PTT กับ ABC ถูกถ่วงน้ำหนักเท่ากัน ….. Standard index จะลำเอียงไปทางหุ้นที่มีmarket cap ใหญ่ market cap ใหญ่ยิ่งลำเอียงไปทางตัวนั้น ส่วน MKB จะลำเอียงไปทาง consensus มากกว่า หมายความว่า ส่วนรวม เหมือนหุ้นแต่ละตัวทำการโหวต ผลการโหวตเป็นยังไงมันจะไบแอสไปทางตัวนั้น ก็ต่างกัน…. ตัว Standard index นี่ดีอย่างนึงนะครับ ตรงที่ว่าตัวdata/ SET index มันพร้อมใช้ เราก็ลาก MACD, MA ไปเนี่ยใช้ได้เลย คนส่วนมากก็ใช้ตัวนี้กัน คราวนี้เนี่ยตัว MKB เราต้องทำการ create (count the market) & calculate ขึ้นมา (ก็ดูว่าจะapplyอะไร operation อะไร บวก ลบ คูณ หาร หรือ smoothing MA เข้าไป )…….อันนี้ที่ชี้แจงนะครับว่า ตัว Standard index ปกติจะ based on 1 set of data หรือ SET index เท่านั้น แต่พอมาเป็นตัว MKB เนี่ยขึ้นอยุ่กับว่าเราจะ count the market ยังไง NHNL นี่เป็น setที่1 ADDE setที่2 และก็ UVDV setที่3 ฉะนั้นก็มีหลายsetให้เราพิจารณาได้ อันนี้เป็นข้อดีนะครับ …..เสร็จปุ๊บเนี่ยตัว Standard index ดีสำหรับการ overview มองภาพรวมของตลาด in general market อันนี้จะได้คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง จะได้รู้ว่าตลาดโดยภาพรวมเป็นยังไงอยุ่ อันนี้พอเป็น MKB เนี่ยผมว่าอาจจะคุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่องนะครับ คนอาจจะไม่เคยรู้ด้วยซ้ำว่ามีตัวนี้อยู่ เราจะได้พิจารณาเพื่อ detecting changes in the market ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในตลาดว่าเป็น beginning เป็นการเริ่มต้นของ new trend รึป่าว หรือเป็นการจบสิ้นของ trend ที่มีอยู่รึป่าว ซึ่งตัว MKB เนี่ยอันนึงที่เห็นประโยชน์ค่อนข้างมากนะครับ จะเห็นตอนที่ช่วงtrendกำลังจะเปลี่ยน (reversal) ตัว MKB ส่วนมากจะมีตัวที่ระบุขึ้นมาก่อนว่า ตลาดเริ่มจะเปลี่ยนทางแล้วนะ ให้ระวัง แต่พอเป็นตัว Standard index เนี่ยอย่างที่บอกว่ามันถูก influence โดยตัว market cap ใหญ่ๆ ซึ่งมันเหมือนช้างอ่ะ ช้างมันเคลื่อนตัวช้า กว่ามันจะบอกเรานี่ตลาดลงไปแล้ว โอเคมั๊ยครับอ่ะนี่ biased Market นะครับ ตัวนี้ดีหน่อย ภาพรวมนี่ consensus เป็นลงแล้วแต่ SET ยังทรงอยู่เพราะ Market cap ใหญ่ เราก็จะได้เห็นกันนะครับ เอาแค่นี้ก่อน เดี๋ยวมาต่อกันนะครับ ขอบคุณครับ

Description

X105-1-1 MKF and MKB Considerations สวัสดีครับ ในวิดีโอชุดนี้นะครับ ผมจะมาพูดถึง MKF (Market Filter) และ MKB (Market Breadth) Considerations นะครับ consider.คือเป็นข้อที่ควรพิจารณาไว้ เพราะว่าก่อนที่เราจะไปเข้าเรื่องการเขียนโค้ดไม่ว่าจะเป็น MA-SET, MACD-SET หรือว่าเป็น MKB NHNL (New High New Low)อะไรก็ตามเนี่ย เราอยากจะมีตัว backtesting matric ให้นักศึกษาได้รู้ก่อนล่วงหน้า เผื่อนักศึกษาลองไปเขียน Market Strategy เองเนี่ย หรือไปดัดแปลงปรับเปลี่ยนอะไรเนี่ย นักศึกษาจะได้รู้ว่า อ๋อ..ตัวที่นักศึกษากำลังทำอยู่เนี่ยมันใช้ได้หรือใช้ไม่ได้อย่างไรนะครับ ผมก็เลยเอาตัว matric มาอธิบายให้ฟังก่อน อันแรกเลยเนี่ยก็คือ เรากำลังเขียนโค้ดหรือออกแบบตัว Market Range ที่พิจารณาว่า โอเค สภาวะนี้เอื้ออำนวย สภาวะนี่ไม่เอื้ออำนวย เป็น range กว้างๆ เป็น Broad Market นะครับ ไม่ได้เขียน strategy เพื่อไปซื้อขายให้ได้กำไร โอเคมั๊ยครับ เป็น range ซึ่งทำให้เราสามารถเอา method ของเราเข้าไปใน range นี้แล้วทำกำไรให้เต็มที่ เอา Position Sizing ของเราเข้าไปใน range ที่ตลาดเอื้ออำนวยเนี่ยให้ได้กำไรได้เต็มที่ แล้วตอนที่เรากำลังเขียนโค้ดเนี่ย ไอ้ตัว MKF หรือ MKB และก็ backtest เนี่ย เราต้องเช็คตลอดเวลาว่าตัว extraEquity เนี่ยเพียงพอที่จะทำให้ capital เราเนี่ยสามารถรัน backtest ให้จบจำนวนเทรดทั้งหมด อย่างที่เรามีตัวอย่างไปแล้วใช่ไหมครับว่า เรามีการทำ optimization เพื่อให้รู้ว่าเราจะต้องมี extraEquity กี่% เพื่อให้ได้จำนวนเทรดที่ maximum ที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ แต่เดี๋ยวค่อยมาชี้แจง ไม่เป็นไรถ้าเผื่อจำไม่ได้ … คราวนี้เนี่ยมาพูดถึงผลที่ได้จากตอน backtest ละกัน result นี่นะครับ ว่าตัวที่ได้จาก MKF หรือ MKB ของเราเนี่ย ค่า CAR ควรจะใกล้เคียงหรือดีกว่าของ Buy&Hold SET index น้อยกว่าเล็กน้อยไม่ใช่เรื่องใหญ่นะครับ และเพราะว่าเรามีการใช้ Market Range MKF MKB เข้าเฉพาะตอนตลาดที่เอื้ออำนวยเนี่ย ทำให้ exposure เงินที่เราไปเสี่ยงในตลาดอ่ะ มีเวลาน้อย ก็คือไม่ได้ใช้เงินในกองเสี่ยงตลอดเวลา มีการ filer ช่วงนี้เข้า ช่วงนี้ไม่เข้า เพราะฉะนั้นเนี่ยพอ exposure เราน้อยกว่าตัว Buy&Hold strategy ซึ่งเข้าตลอดเวลาใช่ไหมครับ ตัว RAR ของเราเนี่ยควรจะมากกว่า Buy&Hold SET (B&H) เนี่ย 2 เท่า โอเคมั๊ยครับ แล้ว MDD ของเราเนี่ย เพราะว่าเรามีการวิเคราะห์ใช่ไหมว่าช่วงนี้ตลาดไม่เอื้ออำนวยเราก็ไม่เข้า โอเคมั๊ยครับ ทะยอยออก เราก็ควรจะน้อยกว่า B&H เนี่ยประมาณ in general นะครับน้อยกว่า2เท่า สมมติว่า B&H ได้ –58% เราก็ควรจะลบไม่เกิน -29% อันนี้พูดไว้เฉยๆนะครับ ความจริงไม่ได้อยากให้เกิน -20% ของเราด้วยซ้ำนะครับ ก็คือเป็นตัวให้วัดละกัน ถัดมาคือจำนวนเทรด/ปี เราอยากได้จำนวนเทรดต่อปีมากกว่า 1 หรืออาจจะเกือบ 2 ก็ได้แล้วแต่กรณีนะครับ เพราะว่าถ้าสมมติต่อปีเป็น 1 หมายความว่า เราสามารถยิงยาวใช่ไหมนักศึกษา ยิงยาวอยู่ในช่วงนี้ พอตลาดเอื้ออำนวยใช่ไหมครับเราก็เข้าไปเทรด ตลาดเนี่ยมันควรจะเอื้ออำนวยโดยมีระยะเวลาช่วงที่กว้างพอให้ตัวsignalเราเข้าไปแล้วทำเงิน ถ้าเรามีถี่เยอะๆเนี่ย แสดงว่าต้องเข้าออกใช่ไหม ตัวsignalเราอาจจะไม่มีโอกาสทำเงินด้วยซ้ำ เข้าแป๊บเดียวต้องออกๆ อันนั้นประเด็นแรกนะครับ และก็ต่อมาก็ %Win นี่จากตัว Market Strategy เรานะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยตอนตัว design signal Market เราเนี่ยมันจะค่อนข้างง่าย เพราะ %Win เนี่ยมากกว่า 60% อันนี้เคยบอกแล้วนะฮะว่าถ้าเป็น Market Strategy เนี่ย %Win 60-70 % เป็นไปได้ 80% ก็มีนะครับ แต่ถ้าเป็น signal เป็น method buyCon sellCon เนี่ยนะ ถ้าได้ 60% นี่ถือว่าหล่อมากนะครับ แต่นี่ก็มี tradeoff อีกนะครับ บางคนเอากำไร 3 % ออกเงี้ย %Win เค้าก็สูงมากใช่ไหมครับแต่ returnต่อไม้ต่ำ ว่ากันไป ..นี่ อันนี้เหมือนกันนะครับมีความสัมพันธ์กัน( จำนวนเทรด/ปี vs Avg Bars Held) Avg Bars Held ระยะเวลาเข้าไปในตลาดเพื่อให้มีเวลาให้signalเข้าไปทำเงิน อันนี้พูดถึง long-only นะครับ อยากได้ Avg Bars Held มากกว่า 100 วัน ..และก็ทั้งนี้ทั้งนั้นพวกนี้มันจะมี tradeoffs กันอยู่ โอเคมั๊ยนักศีกษา นี่ผมบอกนะครับ “There are many tradeoffs among the above metrics” นะครับ ก็เดี๋ยวนักศึกษาต้องโค้ด เทส ศึกษานะครับ และก็พยายาม get senseให้เข้ากระดูกดำนักศึกษา ว่า อ๋อ..มันเป็นอย่างงี้นี่เองนะ .. บาง market strategy นักศึกษาจะมีจำนวนเทรด/ปี เกือบๆ 2 หรือเกินขึ้นไป ถ้าเข้าออกๆนี่ %Win จะเริ่มสูง แต่ Bars Held จะเริ่มต่ำ จะมี tradeoffs กันอยู่ในนี้ตลอด ก็ดูให้มันเหมาะสมเพราะว่า..ผมเน้นแล้วนะครับว่า “Always remember that we are designing a broad signal Market Range” เราไม่ได้ทำเงินจาก SET index นะครับแต่เราทำเงินจาก position ที่เข้าไปซื้อ buyCon sellCon คราวนี้ก็เอารูป metrics มาให้ดูเฉยๆ นักศึกษาจะได้รู้ว่าเดี๋ยววิดีโอถัดๆไปเนี่ย เราจะมีการbacktest ตลอดใช่ไหมครับ พอผมเปิดตัว report มา นักศึกษาจะได้รู้ว่า โอเคจิ้มก่อน Annual Return% นี่ใกล้เคียงโอเคผ่าน (เทียบกับ B&H) RAR% นี่ประมาณ 2 โอเคผ่าน ..เทรดอันนี้คือเทรด10ปีนะครับ อันนี้หาร 10 เหลือ 1.2 โอเคผ่าน นี่ถ้าจำนวนเทรดต่อปีคือ 1 ใช่ไหมครับ Bars Held เราต้องสูงนี่คือประมาณ 100 วัน โอเคผ่าน นี่ winning %Win มากกว่า 60% ผ่าน โอเคนะครับ MaxDD เนี่ย อันนี้โอเคนะครับต่ำกว่าอันนี้ครึ่งนึง (เทียบกับ B&H) คือ เดี๋ยวพวก MKB หรือ MKF ที่เราเรียนน่ะแทบจะไม่มีตัวไหนมากกว่าครึ่งนึงของอันนี้เลยนะครับ ซึ่งจากวิดีโอที่เราพูดถึงเรื่อง analyze MaxDD ของ B&H นักศึกษาจะรู้อยู่แล้วว่าตัวเลขนี้เพ้อเจ้อใช่ไหมครับ ลำเอียงไปทางด้าน pessimistic ด้านแย่ แต่ผมก็เขียนไว้ให้ดูก็แล้วกัน เปรียบเทียบละกัน ฟังดีๆนะครับ เผื่อนักศึกษาทำการbacktestช่วงอื่นที่ไม่เจอ -58% อาจจะต่ำกว่านี้ก็ได้ นักศึกษาอาจจะรู้ว่าโอเค งั้นเราก็อาจจะต้องครึ่งนึงของมันหรือใกล้เคียงนะครับ บางกรณีที่ต่ำมากๆ นักศึกษาจะต้องมีพิจารณญาณนะครับ พิจารณาให้ดี โอเคมั๊ยครับ อันนี้เป็น guideline in general ก็จะได้รู้ว่าพอเปิดreport มาปุ๊บ ต้องดูนี่ ปึ้งๆๆ…(ไล่ดูลงมาเรื่อยๆ) โดยที่ผมอยากให้เน้นพวกนี้ เอาให้ตัวนี้ Annual Return% ผ่านก่อน ตัวข้างล่าง RAR ไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่ปกติผ่านอยู่แล้ว เราก็มาดูนี่เลย All trades จำนวนเทรดผ่านหรือเปล่า อย่าให้มันน้อยกว่า 10/ หรือน้อยกว่า 1/ปี นะครับ อันนี้เทส10ปีนะครับ อันนี้นี่ (Avg. Bars Held)ห้ามน้อยกว่า100 นะนักศึกษา พยายามดันนะครับ ยังไงก็ได้ อันนี้ก็ (Winners) 60% ก็หล่อแล้ว โอเค ก็เดี๋ยววิดีโอหน้าเราจะโค้ดกันซะนะครับ อยากโค้ดเต็มทีแล้ว ขอบคุณครับ

Description

X107-0 Introduction to Popular MKBs สวัสดีครับ ในวิดีโอชุดนี้นะครับเราจะมาพูดถึง MKB นะครับ โดยที่จะเน้นไปในส่วนของตัวที่popularนะครับ ตัวที่เค้าใช้กันเยอะๆนะครับ คราวนี้เดี๋ยวมาทวนแป๊บนึงก่อนเพราะเราทำตัว MKF มาตั้งนาน MKF นี่ใช้ Standard Index นะครับ เราใช้ SET เป็นหลัก แต่พอมาเป็น MKB แล้วนี่จะเป็น NHNL ADDE UVDV และก็ MCCL ข้อแตกระหว่าง Standard Index กับ MKB/Customized Index ก็คือว่า Standard เนี่ยใช้ Cap Weighted ตามหุ้นใหญ่มีน้ำหนักต่อIndexเยอะ ส่วน MKB เนี่ยหุ้นทุกตัวมีน้ำหนักเท่ากัน Equally- Weighted นะครับ อันนี้ Biased ของ Standard Index ก็คือ จะ biased ไปตามหุ้นที่มี market cap ใหญ่ ส่วน MKB เนี่ยจะเป็น consensus มากกว่า เป็นเอกฉันท์ เป็นหมวดเอา หนึ่งสิทธิ์หนึ่งเสียงนะครับ ไม่สนใจว่าใหญ่หรือเล็ก ..คราวนี้ตัว Standard Index เนี่ยready to use คือใช้ค่าของ SET เอามาใช้ได้เลย แต่ส่วนของ Customized Index เนี่ยต้องมีการสร้างและการคำนวณด้วย แต่อยู่ที่ว่าจะสร้างยังไง จะcount ยังไง พอ count เสร็จปุ๊บ จะคำนวณยังไง เพราะฉะนั้นเนี่ยหลังจากที่เราตัดสินใจว่าเราจะ count ยังไง และ calculated แล้วยังไงแล้วเนี่ยครับ เราต้องพยายาม keep it simple ซึ่งตัว popular ที่เราจะสอนในMKBชุดนี้นะครับก็จะเป็น standard ที่เค้าใช้กัน ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนะครับ ง่ายๆ ..อ่ะอันนี้ก็ Good for overviewing the general market ดูภาพoverviewทั่วไปของตลาด นี่คือ Standard Index ถ้าเป็น MKB เนี่ยเหมาะสำหรับdetectการเปลี่ยนแปลงในตลาดนะครับ ตอนเริ่มต้นกับตอนจบ ตอนreversal นะครับ …คราวนี้เรามาดูดีกว่า ผมอยากจะย้ำอีกทีนึงว่าเราเนี่ยคาดหวังอะไรกับตัว MKB นะครับ อ่ะเนี่ยนะครับ Expectation from MKB ก็คืออันแรกเนี่ยที่เราทำตัว Market Analysis ที่เราทำการbacktest เนี่ยนะครับไม่ว่าจะเป็น MKF หรือ MKB ก็ตาม ส่วนนี้ผมขอมาย้ำว่า “ เราต้องการ favorable ranges ช่วงของตลาดที่เอื้อต่อกลยุทธของเรานะครับ ” เราอยากได้ช่วงที่เหมาะสมเพื่อจะเข้า position หรือออก position โอเคมั๊ยครับ แล้วถัดมาเนี่ยโดยเฉพาะของกรณี MKB นะครับ เราอยากเห็นพฤติกรรมของ MKB นั้นๆต่อช่วงที่จะเกิด Trend Reversals อย่างเช่น ช่วงที่หุ้นตกสุดๆแล้วนี่ เริ่มเห็น reversal ว่าหุ้นเริ่มกลับมาขึ้นเนี่ยเราชอบ เหมือนกันช่วงที่หุ้นขึ้นสุดๆแล้วเนี่ย ตัวMKB ควรจะบอกเราว่า เฮ้ยตัว SET ขึ้นไปสุดๆแล้วนะ แต่ตอนนี้หุ้นตัวอื่นเริ่มไม่ทำ new hi แล้ว เริ่มทะยอยลงแล้ว อันเนี้ยเราอยากเห็นเป็น Leading Indicators in Trend Reversals อยากเห็นพฤติกรรมนี้ใน MKB ของเรา โอเคนะครับ ย้ำอีกทีนะครับ ตอน Favorable Ranges เนี่ยไม่ว่าจะเป็น MKF หรือ MKB ก็ตาม เราอยากได้ช่วงออกมาที่อำนวยต่อ strategyเรา แล้วตอนที่เรามาทำ MKB เนี่ย MKB ควรจะให้ความได้เปรียบของเราในการมองเห็น Trend Reversals ถัดมาเนี่ยตัว MKB ควรจะให้ค่า better results ที่ดีกว่า B&H Index (SET) โดยที่เราหวังว่าตัว MKB เนี่ย จะเข้าเร็วออกเร็ว โอเคมั๊ยครับ ..ตอนที่จะเกิด Trend Reversals นะครับ เราก็พยายามลด Exposure และก็ลด MDD ลงไปด้วย ลงไปอีกนะครับ อันนี้ก็ลองดูว่าเป็นไง …แล้วคราวนี้เนี่ย เนื่องจากวิธีที่เรานับ count the market ใช่ไหมครับ นักศึกษาต้องจำคำนี้ให้ได้นะครับ “ MKB คือการ count the market แล้วนำมาทำการ calculate ” count & calculate เพราะฉะนั้นนี่แทนที่เราจะมีแค่ Open Hi Low Close ของ SET index เรามีตัวอื่นตั้งเยอะตั้งแยะ NHNL ใช่ไหมครับ ก็เป็นวิธีการcountวิธีนึง ADDE ก็countอีกวิธีนึง เพราะฉะนั้นนี่เราจะมีalternativeมากเลย มากกว่าแค่ Cap-Weighted Market Index Open Hi Low Close นี่มีแค่ 4 ตัว Volume อีกตัวเป็น 5นี่ .. อันนี้มีทางออกให้เลือกเยอะมาก โอเคมั๊ยครับ และทำให้เราสามารถทำ various studies of market analysis ทำการศึกษาตลาดได้หลายรูปแบบ หามุมมองใหม่ๆในการมองตลาดจากการ count the market differently คือ count the market ด้วยวิธีแปลกๆหรืออื่นๆต่างๆออกไป โอเคนะครับ แล้วสุดท้ายก็มาจบที่ อย่างที่ผมเคยเตือนนักศึกษานะครับ ไม่ว่านักศึกษาจะ quant หรือไม่ quant ก็ตาม คือจะ code ไม่ code ก็ตามนะครับในส่วนของ MKB เนี่ย นักศึกษาควรจะพิจารณา MKB ตลอดเวลาเพื่อดู contrast warning การเตือนความแตกต่างระหว่าง MKF /SET Index ปกติ กับ MKB ของนักศึกษา ซึ่งในนี้เนี่ยเอาแค่ ขอให้นักศึกษาดู NHNL ไว้ก็ยังดีครับว่าตอนนี้พฤติกรรมมันเป็นยังไง หรืออีกตัวก็เป็น ADDE เป็นยังไงยังเงี้ย เพื่อให้นักศึกษารู้ว่าตลาดเนี่ยมันควรจะลงทุนไหมหรือเห็นมันขึ้นๆไปเนี่ยตอนนี้ความเสี่ยงมันสะสมไปถึงจุดๆไหนแล้ว ประมาณ2-3ปีที่แล้วเนี่ย ATR ซึ่งพีคมาก พีคเท่าปี1998 อย่างเงี้ยนักศึกษา จะมีใครออกมาพูดให้เราฟังไหมละครับ อ่า..ไม่วิจารณ์ใครดีกว่านะครับ คราวนี้มาดูดีกว่าว่า popular คือตัวไหนบ้าง ก็พุดเรื่องซ้ำๆเดิมนะครับว่า popular มี 4 ตัวนี่ แต่ไม่โค้ดให้ดูสักทีนะครับ Market Breadth-Popular เพราะฉะนั้นเนี่ยใน4ตัวนี้เราจะใช้ค่าที่เรียกว่าเป็นค่ามาตรฐานที่คนอื่นเค้าใช้กัน โอเคมั๊ยครับ จะไม่พยายามmodifyอะไรใดๆทั้งสิ้น เอาซื่อๆตรงๆเลยแล้วดูว่าค่าดีขนาดไหน ..นักศึกษาจำได้ไหมที่เราทำ RSI ของ SET Index อ่ะ ตอนนั้นเหนื่อยมากเลย ต้องปรับ threshold ปรับโน่นปรับนี่ ค่าก็ห่วยอยู่ดีเห็นไหมครับ คราวนี้เรามาดูว่า ถ้าเราเลือกวิธีการนับที่ถูกต้อง เลือกtools ที่ถูกต้องเนี่ย ชีวิตเราจะง่ายขึ้นเยอะ ตอนนั้นเนี่ยผมเข้าใจว่าผมเอา MACD มาโชว์ให้ดูว่าเนี่ย ทำMACDแค่เนี้ย หรือตัวอื่นเนี่ยนะครับ ก็ดีกว่า RSI แล้ว ไม่ต้องไปเหนื่อยแล้ว คราวนี้ผมจะมาโชว์ให้ดูว่า ง่ายไปกว่านั้นอีก ใช้ count the market – MKB เนี่ยน่ะครับ count ตรงๆง่ายๆเลยก็สามารถให้ค่าดีขึ้นมาได้ โอเคมั๊ยครับ หลักๆpopular มี 4 ตัวนี่ NHNLนะครับ อันนี้ลองไปหาของ Dr. Alexander Elder นะครับ ท่านเน้นเรื่องนี้ทั้งเล่มเลยพูดแต่เรื่องนี้ แล้วก็มี ADDE – Advance คือหุ้นขึ้นสูงกว่าเมื่อวาน Decline หุ้นตกต่ำกว่าเมื่อวานมีจำนวนเท่าไหร่, UVDV ก็คือ Up Volume – มีจำนวนหุ้น(shares)ที่ราคาปิดวันนี้สูงกว่าเมื่อวาน Down Volume – มีจำนวนหุ้นที่ราคาปิดวันนี้ต่ำกว่าเมื่อวาน, MCCL เป็นการเอา ADDE กับ UVDV มาใช้ร่วมกันนะครับ ไม่มีอะไรspecificเจาะจงของตัวมันเอง คราวนี้ปกติ MKB มันชอบมาเป็นคู่ ก็คือจะมีตัวที่เป็นตัวดี ตัวดีคือตัวที่บ่งบอกว่าตลาดหุ้นดีน่ะครับ NH นี่คือดีใช่ไหมครับ AD หุ้นขึ้นก็ดี UV จำนวนหุ้นของหุ้นที่ขึ้นก็ดี อันนี้คือไม่ดี (สีแดง) …. โอเคนะครับ ผมเขียน A สีเขียว-ดี B สีแดง-ไม่ดี เพื่อจะมาโชว์ว่าในส่วนของCalculation เนี่ย เราก็สามารถทำกรณีหลักๆมีอยู่ 4 ตัวนะครับ มี Diff ลบกันตรงๆเลย ง่ายๆทื่อๆ อันนี้จะมีปัญหาตอนที่ถ้านักศึกษาทำการ backtest แล้วหา threshold นะครับ ให้คิดเลยนะว่า threshold ของหุ้นวันเนี้ยกับ10ปีที่แล้วมันเท่ากันมั๊ย มันควรจะเท่ากันมั๊ย ซึ่งมันไม่เท่าถูกไหมครับ เพราะฉะนั้นตัวเนี้ยจะมีปัญหาว่าถ้านักศึกษาต้องทำการ backtest เนี่ยต่างกัน10ปี threshold นักศึกษาจะมีปัญหา วิธีแก้คืออะไร มาใช้ตัว Ratio แล้วหารตัวที่ไม่ดี หรือ หารด้วยสองตัวบวกกัน เพื่อสัดส่วนไม่ว่าจะปีนี้ หรือ10ปีที่แล้วเนี่ยเป็น % หรือเป็นสัดส่วนยังใกล้เคียงของเดิม โอเคมั๊ยครับ เวลาเป็น ratio เนี่ยตัวล่างยังมาช่วยได้ normalize ได้ อันนี้ดี ต่อไปนี่ DiffRatio ก็คือ Diffก่อนแล้วหารด้วย Ratio อันนี้คือเขียนไว้ให้ดูเฉยๆ ไม่ได้ซีเรียสอะไร ถัดมาเป็น Cumulative เป็นสะสม ค่าสะสมเนี่ย บวกค่า A-ค่าผลดีย้อนหลัง20วัน เดี๋ยวจะมีชี้แจงให้ดูนะครับว่า ตัว MKB เนี่ย count the market บางตัวจำเป็นต้องทำ Cumulative เพราะตัวมันเองมันมองระยะสั้นมาก เฉลยเลยละกัน ตัวมองระยะสั้นมากคือ ADDE UVDV เพราะว่าปกติมันมองวันนี้เทียบกับเมื่อวานแค่นั้นเอง แล้วจะมาทำanalysis ยังไง จริงมั๊ยครับ แล้ว NHNL ล่ะจำเป็นต้องมี Cumulative ไหม มีหรือไม่มีก็ได้ แต่ประเด็นคือ NHNL นี่เวลามันมองเนี่ยมันไม่ได้มองแค่วันนี้กับเมื่อวาน มันมองวันนี้แล้วก็ย้อนหลังไปปีนึง เห็นไหมครับมันมีการพิจารณากว้างเป็นปี เพราะฉะนั้นเนี่ยมันเลยไม่ค่อยซีเรียสว่าจะเอาตัว Cumulative มาใช้เมื่อไหร่ไม่เป็นไร แต่พอเป็นอะไรที่มันมองสั้นมากๆ หรืออนาคตนักศึกษาจะเอาไปใช้ Indicator จะ count market โดยใช้ Indicator อะไรก็ตามที่มันมองสั้นมากๆเนี่ย นักศึกษาก็อาจจะเอาตัว Cumulative มาใช้ พอดีใน amibroker มันแยกเป็น sum นะครับ ตรงนี้ผมไปเขียนว่า sum แต่จริงๆมันคือ ค่าสะสมย้อนหลัง บวก20วันย้อนหลัง บวกให้หมด ว่ากันไป คราวนี้เราจะกลับมาเน้นเรื่อง Keep it Raw นะครับ นี่วิดีโอนี้นักศึกษาเคยเห็นไปแล้ว ว่าตอนที่เราทำ AddToComposite (atc) เนี่ย เราอยาก Keep it Raw เพราะค่า NHNL อาจจะมีการใช้ที่ mkbDiffNHNL และก็ mkbRatioNHNL เห็นไหมครับ เพราะงั้นตัวนี้เนี่ย (atcNHNL) เราไม่อยากสร้างหลายตัว สร้างตัวเดียวแล้วใช้ได้หลายตัว และตัว mkbRatioNHNL เนี่ยจะใช้หลาย strategy ก็ได้ อ่ะนี่ก็ว่ากันไป นี่คือ Keep it Raw คราวนี้เนี่ย MKB นักศึกษาบางกรณีเนี่ยเจาะจงมากๆเลยอย่างกรณีนี้ mkbRatioNHNL อันนี้คือเวอร์ชันหนึ่งของผม ตัวนี้ใช้เจาะจงของตัวมันเองกับ strategy นึงเท่านั้น เพราะฉะนั้นตัวนี้ผมจะไม่สร้างไฟล์ atc ขึ้นมา ผมจะสร้าง MKB ขึ้นมาเลยและอยู่ในตัวมันเองตัวเดียวไป โอเคมั๊ยครับ ก็คือไฟล์เดียวcompleteเลย ..อันนี้ผมจะมี atc template ตัวนี้ตัวนึง และก็actใช้กับ templateตัวนี้ตัวนึง (mkbRatioNHNL) ผมจะมี2ตัว แล้วใช้ strategy อะไรก็ว่ากันไป อันนี้ไม่เลย ผมจบทีเดียวในไฟล์ๆเดียวทั้ง atc และ MKB ใช้ใน strategy นี้จบ คราวนี้เนี่ย อนาคตพอนักศึกษาเริ่มทำ Market analysis ไปเรื่อยๆนะครับ ทำMKBไปเรื่อยๆเนี่ยนักศึกษาจะมีการต่อยอดออกไป เอ..อยากลองเอาตัวโน้นมาผสมตัวนี้ เอ๊ะ..ตัวนี้เอามาใช้กับตัวนั้นได้มั๊ย เพราะฉะนั้นเนี่ยก็จะมีเคสคล้ายๆกรณีของ MCCL นี่..กรณี MCCL เนี่ย ตัวมันเองเนี่ยไม่มีการ count the market อะไรที่แตกต่างจากคนอื่น โอเคมั๊ยครับ มันไปเอาค่าของ atcADDE กับ atcUVDV เนี่ยมาใช้ที่ตัวมันเอง(mkbMCCL) เอาของคนอื่นมาใช้ และก็ไปใช้ที่ strategy จะ 1..2..3..4 ไม่เป็นไรไม่ซีเรียส แต่ง่ายๆคือตัวมันเองไม่มีเจาะจง …แต่อย่างกรณีนี้คือเจาะจงเห็นไหมครับ mkbCumuADDE กับ mkbRatioUVDV เจาะจงมาจากตัวนี้ atc อันนี้ (mkbMCCL) ไม่เจาะจงเอาของชาวบ้านมาใช้ ถ้านักศึกษาเนี่ย keep it raw ที่ตัวatcสองตัวนี้ (atcADDE กับ atcUVDV) ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีการเจาะจงกับMKBอะไรก็ตาม แค่นับตรงๆเลย UVDV เป็นยังไง ทำให้นักศึกษาเอามาใช้ที่ตัวนี้ได้เลย (mkbMCCL) ไม่เป็นไร อันนี้ง่าย ..แต่คราวนี้เนี่ย ถ้าเกิดว่านักศึกษาบอกว่า mkbMCCL จะเอาตัวนี้มาด้วย (mkbRatioNHNL V1 ต่อไปจะเรียก NHNL V1 ) จะลากมาไว้ตรงนี้ด้วย อันนี้ต้องเริ่มพิจารณาแล้วนะครับ เพราะว่ากรณีแรกเนี่ยตัว NHNL V1 specificมาก เจาะจงกับตัวนี้มากนะครับ (strategy 5) เพราะงั้นการเปลี่ยนอะไรที่ตัวนี้ ถ้านักศึกษานำมาใช้ที่นี่ ก็จะมาเปลี่ยนที่ตัวนี้ด้วย (mkbMCCL) และตัวมันเองก็เอาของคนอื่นมาใช้ด้วย มันชักเรื่องเยอะ ..อ่ะนี่ เจาะจงๆ (โยงลูกศรสีแดง) เพราะฉะนั้นเนี่ยกรณีซึ่งเอาค่า atc หรือ MKBของคนอื่นที่เจาะจงมากๆมาใช้เนี่ยนะครับ นักศึกษาจะพิจารณาสร้าง atcNHNL V1 MCCL อีกตัวนึงให้มันเอง โอเคมั๊ยครับ นี่ก็เป็นการเตือนนะครับ เป็นเรื่องของการorganizeโค้ด …ผมก็มาโน้ตให้ฟังเรื่องการบริหารจัดการไฟล์นะครับ ซึ่งตอนนี้นักศึกษายังไม่เจอหรอก ไปอีก6เดือนจากนี้ 1 ปีนึงจากนี้เนี่ย ยังไงนักศึกษาก็ต้องเจอ ก็บอกว่า in general, if you keep it or them raw (หมายถึง atcADDE กับ atcUVDV), there is no need to duplicate other ATCs. ไม่มีความจำเป็นต้องก๊อปซ้ำเพราะมันrawมาก โอเคมั๊ยครับ อย่างไรก็ตาม ถ้าatcของคนอื่นมันspecificมากเจาะจงกับตัวมันเอง ไม่มีใครเอาไปใช้เลย ใช้อยู่ก้อนเดียว (NHNL V1) นักศึกษาก็อาจจะต้องพิจารณาเนี่ย it maybe better to duplicate them ออกมาคือ ก๊อปปี้(atcNHNL V1) สร้าง atcNHNL V1_MCCL ตัวนี้ออกมาอีกตัวนึง ให้ mkbMCCL โดยเฉพาะ อันนี้เป็นตัวอย่างให้ดูนะครับ อาจจะต้องพิจารณาก๊อปปี้ออกมา …หรือตรงนี้ (atcUVDV) อาจจะต้องก๊อปปี้ออกมาเป็น atcUVDV_MCCL เพราะฉะนั้นเนี่ยถ้านักศึกษาเริ่มเห็นว่ามันเริ่มเจาะจงเยอะๆแล้วเนี่ย ท่าเยอะท่ามากนะครับ และอันนี้มันมีผลกับตัวอื่นก็อาจจะแยกออกมาเป็นอีกโฟลเดอร์นึง แล้วก็เอาพวกนี้ก๊อปปี้ไปวางซ้ำๆ อันเนี้ยมันเป็นเรื่องของ functionality กับ usage นะครับซึ่งอาจจะขัดกับไอเดียในการเขียนโค้ดหน่อย ว่าเฮ้ยเราไม่อยากเขียนโค้ดซ้ำต่อมิอะไรเนี่ย ก็อย่างที่เราเจอมาในตอน Strategy Evaluation ใช่ไหมครับ ถ้ามัน improve reading ability ความสามารถในการอ่านง่าย ถ้ามัน improve usage ก๊อปปี้ก็ไม่เป็นไรนะครับ ขอให้เรารู้ว่าเราทำอะไรอยู่ organized โค้ดให้ดีนะครับ ไม่งั้นมันจะทับถมไปเรื่อยๆจนมันเน่านะครับนักศึกษา อ่ะ..ผมว่าพูดมาเยอะแล้ว เดี๋ยววิดีโอชุดหน้านี่เราจะมาโค้ดกันแล้วนะครับ แล้วเดี๋ยวเจอกันครับ ขอบคุณครับ

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Books on Market Breadth

 

MKBC
Breadth Course
LEVEL
ระดับกลาง-สูง
FOCUS
เน้นเขียนโค้ดเพื่อเอาชนะตลาด
CONTENTS
Code สภาพตลาดขั้นสูงแบบต่างๆ
ทดสอบตลาดขั้นสูงอย่างละเอียด
ประยุกต์ใช้สภาพตลาดในกลยุทธ์
ABXC
Xtreme Course
LEVEL
ระดับสูง-เทพ
FOCUS
เน้นเขียนโค้ดบริหารความเสี่ยง
CONTENTS
การเขียน Custom Backtester ขั้นสูง
บริหารจัดการเงินลงทุนอย่างละเอียด
บริหารความเสี่ยงและจำกัดการขาดทุน